นักวิจัยเผย ‘จระเข้’ งอกหางใหม่ ได้เหมือนจิ้งจก ตุ๊กแก

นักวิจัยเผย ‘จระเข้’ งอกหางใหม่ ได้เหมือนจิ้งจก ตุ๊กแก

กลุ่มนักวิจัยอเมริกัน ค้นพบว่า จระเข้ มีความสามารถ งอกหางใหม่ ได้เหมือนจิ้งจกและตุ๊กแก หากพวกมันยังไม่โตเต็มวัย กลุ่นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา และกรมสัตว์ป่าและประมงรัฐลุยเซียนา ร่วมกันทำวิจัยเกี่ยวกับ จระเข้ และพบว่าพวกมันสามารถ งอกหางใหม่ ได้ยาวถึง 9 นิ้ว หรือ 18% ของความยาวลำตัว หากพวกมันยังไม่โตเต็มวัย

พวกเขาใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพขั้นสูง 

และเก็บข้อมูลการจัดระบบกายวิภาคและเนื้อเยื่อของจระเข้ ตามแต่ละช่วงเวลา ซึ่งพบว่าหางใหม่นั้นเป็นโครงกระดูกอ่อนที่สามารถฟื้นฟูและรักษาบาดแผลได้ “โครงกระดูกที่งอกใหม่จะถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อและผิวหนัง แต่ไม่มีกล้ามเนื้อลายเหมือนจิ้งจก” เคนโระ คูซูมิ นักเขียนรายงานการวิจัยร่วม กล่าวกับ CNN

กลุ่มนักวิจัย กล่าวเพิ่มเติมว่าการทำความเข้าใจข้อจำกัดนี้ อาจช่วยในการพัฒนาบำบัดและฟื้นฟูมนุษย์ด้วย “เรารู้ว่ามนุษย์ ผู้ไม่สามารถสร้างอวัยวะขึ้นมาใหม่ได้ มีเซลล์เดียวกับที่สัตว์อื่น ๆ ใช้ในการสร้างอวัยวะใหม่” จีน วิลสัน-รอวส์ นักเขียนรายงานการวิจัยร่วมอีกคนหนึ่งกล่าวเสริม

NARIT เผยภาพ ‘จันทรุปราคาเงามัว’ ครั้งสุดท้ายของปี 63 ที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยจันทรุปราคา ครั้งต่อไปจะเกิดในวันที่ 26 พ.ค. 64 จันทรุปราคา – สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยภาพ จันทรุปราคาเงามัว ที่ถ่ายได้ที่อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ผ่าน Facebook พร้อมทั้งระบุว่า นี่คือจันทรุปราคา ครั้งสุดท้ายประจำปี 2563 ก่อนที่จะ จันทรุปราคา(บางส่วน) ในประเทศไทยจะวนกลับมาอีกครั้ง ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564

โดยข้อความระบุว่า “ภาพ #จันทรุปราคาเงามัว ครั้งสุดท้ายของปี 63 #มองด้วยตาเปล่าเห็นได้ค่อนข้างยาก เก็บภาพ #ผ่านเลนส์ มาฝากจะประมาณนี้ครับ

NARIT เก็บภาพจันทรุปราคาเงามัว เหนือฟ้าเมืองเชียงใหม่ ในช่วงหัวค่ำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 บันทึกภาพ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นจันทรุปราคาครั้งสุดท้ายของปี ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดในช่วงเวลาประมาณ 14:32 – 18:53 น. ตามเวลาประเทศไทย ในไทยสังเกตได้ตั้งแต่ดวงจันทร์โผล่พ้นขอบฟ้า เวลาประมาณ 17:49 น. จนถึงเวลาประมาณ 18:53 น. มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว เกิดจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกบางส่วน ไม่ได้ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามืด ดวงจันทร์จึงไม่เว้าแหว่ง ยังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงแต่มีความสว่างลดลงเท่านั้น

สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาในประเทศไทยครั้งถัดไป เป็นจันทรุปราคาบางส่วน จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564”

‘ไตรโซเดียมฟอสเฟต’ คืออะไร คุณสมบัติ และการนำไปใช้

หลังจากที่ ป.ป.ส. ตรวจยาเค 11.5 ตัน แล้วพบสาร ไตรโซเดียมฟอสเฟต ปะปนอยู่นั้น Tadoo ขอพาทุกท่านไปเจาะลึกสารตัวนี้กัน ไตรโซเดียมฟอสเฟต มีอีกชื่อคือ TSP,  ไตรโซเดียม ออร์โธฟอสเฟต หรือ โซเดียมฟอสเฟต สูตรทางเคมีคือ Na3PO4

ไตรโซเดียมฟอสเฟต เกิดจากการใช้โซเดียมคาร์บอเนต เพื่อทำให้กรดฟอสโฟริคเป็นกลาง และเกิดเป็นไดโซเดียม ไฮโดรเจน ฟอสเฟต ก่อนที่จะไปทำปฏิกิริยากับโซเดียม ไฮดรอไซด์ จนกระทั่งกลายเป็นไตรโซเดียมฟอสเฟตและน้ำ

คุณสมบัติ: ลักษณะเป็นผงสีขาว มีความเป็นด่างแก่ ละลายน้ำได้ แต่ไม่ละลายในเอธานอล

การนำไปใช้ประโยชน์:

เป็นส่วนผสมของน้ำยาทำความสะอาด ขจัดคราบสิ่งสกปรก

ใช้ในการผลิตนม ทำให้นมไม่ตกตะกอน ไม่เปลี่ยนสี

ใช้เป็นสารหล่อลื่นในโรงงานอุตสาหกรรม และเคลือบท่อประปาทองแดง (ในสหรัฐอเมริกา)

ใช้ในวงการศิลปะ ทั้งรองพื้นก่อนลงสีลาเท็กซ์ หรือทำให้สีน้ำมันเกิดความเงางาม

ทั้งนี้ ในยุโรป มีการใช้ไตรโซเดียมฟอสเฟตลดลง เนื่องจากสารตัวนี้เป็นตัวการทำให้เกิดยูโทรฟิเคชัน (แพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายเติบโตอย่างรวดเร็ว) ในแหล่งน้ำ

กลายเป็นที่ตกตะลึงอีกครั้ง หลังจากที่มีการขุดพบ ซากเจ้านาย-ทาส ถูกฝังอยู่ใต้นคร ปอมเปอี สภาพศพค่อนข้างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน สำนักข่าว การ์เดี้ยน รายงานการค้นพบ ซากของ เจ้านาย และ ทาส ที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ถูกฝังอยู่ใต้นคร ปอมเปอี ที่ถูกฝังจากการปะทุขึ้นของภูเขาไฟวิซูเวียส

โดยร่างของชายหนุ่มวัยราวๆ 18-25 ปี มรกระดูกสันหลังยุบตาย ทำให้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าชายคนดังกล่าวน่าจะเป็นแรงงานหรือทาส ส่วนชายอีกคนที่เสียชีวิตอยู่ใกล้ๆ คาดว่ามีอายุตั้งแต่ช่วง 30 ถึง 40 ปี และสภาพกระดูกที่แข็งแรงกว่า

ซึ่งจุดที่พบศพของชายทั้งสองนั้นคือจุดเดียวกันกับที่เจ้าหน้าที่พบอานม้า เมื่อปี 2560 ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าผู้เสียชีวิตทั้งสองศพ น่าจะสามารถหลบหนีออกจากเมืองได้ทัน ในช่วงเวลาที่ภูเขาไฟปะทุขึ้น อย่างไรก็ตามทั้งสองน่าจะเสียชีวิตเนื่องจากแรงระเบิดในวันถัดมา

ด้านนาย แมสซิโม โอซานน่า ผู้อำนวยการประจำแหล่งโบราณคดีปอมเปอี ได้กล่าวถึงการค้นพบครั้งนี้ว่า เป็นเรื่องที่วิเศษมาก

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป