มีหวัง ไทยกำลังพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ต้นแบบเพื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง

มีหวัง ไทยกำลังพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ต้นแบบเพื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข รายงาน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เร่งสร้างการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ประเทศไทย ทั้งการพัฒนาวัคซีนต้นแบบในประเทศ โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างพัฒนาวัคซีนต้นแบบเพื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง และอยู่ระหว่างการเจรจาสร้างความร่วมมือในการวิจัยวัคซีนกับจีน

วันนี้ (19 เมษายน 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 

กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางสร้างการเข้าถึงวัคซีนให้กับประเทศไทยให้เร็วที่สุด โดยการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในการศึกษาวิจัยวัคซีนมาทดสอบในประเทศไทย ได้ประสานกับสถานทูตจีนติดตามความก้าวหน้าการทำข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศจีนร่วมศึกษาวิจัยทดสอบวัคซีนในคนระยะที่ 2 ขณะเดียวกัน ในประเทศได้มีความร่วมมือพัฒนาวัคซีนต้นแบบระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ การวิจัยของคณะแพทยศาสตร์จุฬา กับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ อยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ก่อนเข้าสู่การทดสอบในคน นำไปสู่การผลิตวัคซีนได้เองภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการรับมือโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในอนาคตได้อีกด้วย

ดร.สุภาพร ภูมิอมร  ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างการตรวจระดับภูมิคุ้มกันในเลือดของสัตว์ทดลองที่ได้รับการฉีดวัคซีนต้นแบบ 2 ครั้ง ในการการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์จุฬา กับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย ส่วนการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างการเพิ่มจำนวนไวรัส เพื่อนำไปฆ่าเชื้อเป็นวัคซีนเชื้อตาย นำไปฉีดในสัตว์ทดลอง

ทั้งนี้ การพัฒนาวัคซีนหลังจากการทดสอบในสัตว์ทดลอง จะทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในคนอีก 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ทดสอบความปลอดภัยในคน 30-50 คน ระยะที่ 2 การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กลุ่มเล็ก 100 – 150 คน และระยะที่ 3 ให้ผลในการป้องกันโรคในกลุ่มใหญ่ 500 คนขึ้นไป

จำได้มั้ยที่เราเคยให้ความสนใจเรื่องหวยน่ะ ที่บางคนรีบเอาล็อตเตอรี่มาเลีย หวังจะให้ดีเอ็นเอติดอยู่นั่นแหละ 55555 เหมือนกันๆ แต่อันนี้เราจะหาดีเอ็นเอของเชื้อโรคที่มันเกาะอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของเรา ขอให้ swab โดนตัวมันนิดเดียวแค่นั้นแหละ เราก็ตรวจหาดีเอ็นเอของมันได้แล้ว

ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2563 เราตรวจไปแล้ว 178,083 ตัวอย่าง และจะตรวจได้มากขึ้นไปอีก เพราะตอนนี้มีห้องแล็บที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีตั้ง 112 แห่งทั่วประเทศ เดี๋ยวคงตรวจกันให้รึ่ม เพราะฉะนั้น ตัวเลขติดเชื้อ 9 ราย เมื่อวาน จึงน่าดีใจและถือว่าน้อยมากๆครับ

ขอให้อย่าประมาท และระลึกไว้เสมอว่า เจอ”ไวรัส”คงเป็น”ไข้” เจอคนที่”ใช่”คงเป็น”เธอ”

ฝีมือคนไทย ! ศิริราช คิดค้น หน้ากากอนามัยจากผ้า ป้องกัน COVID-19 ซักล้างใช้ซ้ำได้

ศิริราช – วช. – TCELS – มทร.ล้านนา – สทน. ร่วมวิจัย และพัฒนา หน้ากากอนามัยจากผ้านาโนกันไรฝุ่นศิริราช ที่มีชื่อว่า WIN-Masks ย่อมาจาก Washable Innovative Nano-Masks สามารถป้องกัน COVID-19 และ PM 2.5 ได้ 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์

โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะจัดแถลงข่าว “ร่วมวิจัย และพัฒนา หน้ากากอนามัยจากผ้านาโนกันไรฝุ่นศิริราช WIN-Mask (Washable Innovative Nano-Masks) ป้องกัน COVID-19 และ PM 2.5 ได้”

วานนี้ (17 มี.ค. 63) ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานแถลงข่าวร่วมด้วย รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้า (ประยุกต์) วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา รศ.วรรณะ มหากิตติคุณ นักวิจัยพัฒนาผ้ากันไรฝุ่นศิริราช และ รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช

นวัตกรรมหน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่น หรือ WIN-Masks (Washable Innovative Nano-Masks) เพื่อป้องกัน COVID-19 เป็นหน้ากากสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้สัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อ COVID-19 โดยตรง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ความเสี่ยง และประชาชนที่ต้องอยู่ในกลุ่มชนหรือพบปะผู้คนจำนวนมาก เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะเดียวกันลดขยะปนเปื้อนจากหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้ด้วย

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป